ข้อมูลทั่วไป
- รายละเอียด
- หมวด: เกี่ยวกับหน่วยงาน
- เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์, 12 ตุลาคม 2557 16:07
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 11873
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลวังกะ
1. ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ 8 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2499 ได้รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลสังขละบุรี ต่อมาเมื่อวันที่ 18 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2528 ได้มีประกาศ กระทรวงมหาดไทย ยุบสุขาภิบาลสังขละบุรี อำเภอสังขละบุรี จัดตั้งสุขาภิบาลวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 195 หน้าที่ 6284 วันที่ 24 ธันวาคม 2528
ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก วันที่ 24 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
สภาพพื้นที่และอาณาเขต
เทศบาลตำบลวังกะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ (เขื่อนเขาแหลม) ครอบคลุมพื้นที่ 11.11 ตารางกิโลเมตร ของหมู่ที่ 1 (ชุมชนบ้านนิเถะ ) หมู่ที่ 2 (ชุมชนบ้านวังกะ) และหมู่ที่ 3 (ชุมชนบ้านไหล่น้ำ) บางส่วน ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี
อาณาเขต - ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ต.หนองลู ตามแนวหลักเขตที่ 1-2
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1,3 ต.หนองลู ตามแนวหลักเขตที่ 2-3
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 ต.หนองลู ตามแนวหลักเขตที่ 4,5,6-1
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณตามแนวหลักเขตที่ 3-4
2. ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
2.1 การคมนาคม
ทางบก มีถนนสายสำคัญ 1 คือ
- ถนนสายทองผาภูมิ – สังขละบุรี ระยะทาง 74 กิโลเมตร อยู่ในเขตเทศบาล 2 กิโลเมตร รถโดยสารภายในเขตอำเภอสังขละบุรี ผ่านเขตจังหวัดกาญจนบุรีมีจำนวน 2 สาย , ผ่านเขตตำบลหมู่บ้าน 2 สาย
ทางน้ำ ปัจจุบันการคมนาคมขนส่งทางน้ำได้ลดความสำคัญลงไป เนื่องจากความสะดวกในการคมนาคมขนส่งทางบกมีมากขึ้น เส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำซองกาเรีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี ส่วนใหญ่จะใช้ในการประมง และฤดูฝนในกรณีเส้นทางถูกตัดขาดอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขื่อนวชิราลงกรณ(เขื่อนเขาแหลม) ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอสังขละบุรี มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก
2.2 การไฟฟ้า
ไฟฟ้าในเขตเทศบาลให้บริการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอทองผาภูมิ มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชน และให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาลทั้งหมด ส่วนเทศบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงไฟฟ้าสาธารณะ ที่ให้แสงสว่างตามถนน ตรอก ซอยต่างๆ
2.3 การประปา
เทศบาลตำบลวังกะ มีกิจการการประปาเป็นของตนเองได้ให้บริการประปาแก่ประชาชนในเขตเทศบาล โดยใช้แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำซองกาเรีย มีผู้ใช้น้ำประปาจำนวนประมาณ 1,100 ราย
2.4 การโทรคมนาคม
การบริการโทรศัพท์มีอย่างทั่วถึง มีทั้งโทรศัพท์สาธารณะประเภทหยอดเหรียญและแบบใช้บัตร อีกทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ทั้งระบบ DTAC, TRUE และ GSM และยังมีสถานีวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 แห่ง กระจายเสียงทั้งระบบ FM และ AM
2.5 ไปรษณีย์
มีที่ทำการไปรษณีย์บริการ จำนวน 1 แห่ง คือ ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอสังขละบุรี
3. ลักษณะทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.1 ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรที่สำคัญของเทศบาล ได้แก่ ภูเขาและแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นดินลูกรังขาดความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมาะแก่การปลูกพืชเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น
3.2 ทรัพยากรน้ำ
อำเภอสังขละบุรีเป็นอำเภอที่มีความได้เปรียบทางด้านแหล่งน้ำ เนื่องจากมีทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติที่กว้างใหญ่ และมีฝนตกชุกตลอดฤดูกาล
3.3 แหล่งน้ำธรรมชาติ
ประกอบด้วยแม่น้ำรันตี, แม่น้ำบีคลี่, และแม่น้ำซองกาเรีย ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของอำเภอสังขละบุรี คุณภาพของน้ำสะอาดโดยไหลมารวมกันเป็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ
น้ำฝน
โดยเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนที่ตกในอำเภอสังขละบุรี ประมาณ 2,621.08 มิลลิเมตร โดยเริ่มตกหนักในช่วงเดือนพฤษภาคม–เดือนกันยายน ของทุกปี ในบางปีจะเริ่มตกหนาแน่นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนจนกระทั่งถึงเดือนตุลาคม
4. ลักษณะทางเศรษฐกิจ
อาชีพส่วนใหญ่ได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม, ประมง, ค้าขายและประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว มีโรงแรมและรีสอร์ท จำนวน 12 แห่ง ในวันหยุดจะมีนักท่องเที่ยวมาพักค้างเป็นจำนวนมาก ปัญหาด้านเศรษฐกิจประการหนึ่ง ได้แก่ เรื่องที่ดิน ซึ่งเป็นที่ดินที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จัดสรรให้ มีข้อจำกัดในเรื่องซื้อขายเปลี่ยนมือและบางส่วนเอกสารในการครอบครองที่ดินไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
ด้านการอุตสาหกรรม มีการจ้างงานจำนวนมาก ได้แก่ หัตถกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าส่งตลาด ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาฝีมือ
การค้าและบริการ ร้านค้าส่วนใหญ่เป็นร้านค้าปลีกและบริการ สินค้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภค การกระจายตัวของร้านค้าและบริการจะหนาแน่นบริเวณตลาดเทศบาลตำบลวังกะ มีร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้นมา จำนวน 1 แห่ง คือ ร้านเซเว่น – อีเลฟเว่น และซุปเปอร์มาเก็ต 1 แห่ง คือ ซีเจเอ็กเพลส
ตลาดสด มีตลาดสดที่สำคัญ 2 แห่ง คือ ตลาดเทศบาล และตลาดวัดวังก์ ม.2 ประกอบด้วยอาคารไม้พื้นคอนกรีต 2 หลัง กฟผ. สร้างให้ 1 หลัง นายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ สร้างให้ 1 หลัง
ธนาคาร มีธนาคาร 2 แห่ง ได้แก่
1. ธนาคารไทยพาณิชย์
2. ธนาคารกรุงไทย
สินค้าพื้นเมืองที่สำคัญ ของเทศบาลตำบลวังกะ ได้แก่
เฟอร์นิเจอร์ไม้ต่างๆ ที่ทำจากอำเภอสังขละบุรี
ผ้าทอมือ จากชาวไทยเชื้อสายกระเหรี่ยง
5. ลักษณะทางสังคม
5.1 ประชากร
เทศบาลตำบลวังกะ มีประชากรทั้งสิ้น 6,771 คน แบ่งเป็นชาย จำนวน 3,449 คน หญิง จำนวน 3,322 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,292 ครัวเรือน อัตราความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยต่อพื้นที่มีจำนวน 609 คน / ตร.กม.
ตาราง สถิติประชากรในเขตเทศบาลตำบลวังกะ พ.ศ. (2550– 2557)
พ.ศ. |
ครัวเรือน |
ประชากรทั้งหมด |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||
2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 |
1,298 1,331 1,917 2,212 2,206 2,221 2,277 2,292 |
1,641 1,639 2,265 3,210 3,125 3,195 3,434 3,449 |
1,436 1,461 2,115 3,066 2,951 3,010 3,331 3,322 |
3,077 3,100 4,380 6,276 6,076 6,205 6,765 6,771 |
ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังกะ งานทะเบียนราษฎร
ข้อมูลสำรวจเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2557
5.2 การศึกษา
สถานภาพการศึกษาของอำเภอสังขละบุรี มีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีหน่วยงานด้านการศึกษาสังกัดต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบดำเนินการให้บริการด้านการศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป แยกตามสังกัดได้ดังนี้
โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา มีจำนวนนักเรียน 1,274 คน แยกเป็น
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียน 713 คน
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียน 561 คน
จำนวนครู 53 คน
โรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี มีจำนวนนักเรียน 2,146 คน แยกเป็น
- ชั้นอนุบาล มีนักเรียน 363 คน
- ชั้นประถมศึกษา มีนักเรียน 1,783 คน
จำนวนครู 71 คน
โรงเรียนวัดวังก์วิเวการาม มีจำนวนนักเรียน 1,291 คน แยกเป็น
- ชั้นอนุบาล มีนักเรียน 198 คน
- ชั้นประถมศึกษา มีนักเรียน 847 คน
- มัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียน 246 คน
จำนวนครู 50 คน
ถ่ายโอนมาจาก สังกัดกรมพัฒนาชุมชน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไหล่น้ำ
-อนุบาล 3 ขวบ จำนวนนักเรียน 40 คน
จำนวนครู 2 คน
ถ่ายโอนมาจากกรมศาสนา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสุวรรณ
-อนุบาล 3 ขวบ จำนวนนักเรียน 94 คน
จำนวนครู 5 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดวังก์วิเวการาม
-อนุบาล 3 ขวบ จำนวนนักเรียน 162 คน
จำนวนครู 10 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (อนุบาลสังขละบุรี)
-อนุบาล 3 ขวบ จำนวนนักเรียน 33 คน
จำนวนครู 2 คน
สังกัดการศึกษานอกโรงเรียน มี 1 แห่ง รวมนักเรียนทั้งสิ้น 546 คน
- นักเรียนชั้นประถม จำนวน 101 คน
- นักเรียนชั้น ม.ต้น จำนวน 226 คน
- นักเรียนชั้น ม. ปลาย จำนวน 219 คน
- ครู จำนวน 9 คน
5.3 การศาสนาและวัฒนธรรม
ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 95 นับถือศาสนาพุทธ และนับถือศาสนาอื่นๆ อีกประมาณร้อยละ 5 ได้แก่ ศาสนาคริสต์ อิสลาม เป็นต้น
ศาสนาสถานในเขตเทศบาล มีดังนี้
วัดพุทธ มี 3 วัด
มัสยิด มี 1 แห่ง
โบสถ์คริสต์ มี 1 แห่ง
5.4 วัฒนธรรมและประเพณี
1. งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่
2. งานประเพณีสงกรานต์ และเทศกาลข้าวแช่
3. งานผูกข้อมือเดือนเก้า
4. งานประเพณีลอยกระทง
5. งานประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์
5.5 สถานที่ท่องเที่ยว
ภายในเขตเทศบาลตำบลวังกะ มีภูมิประเทศที่สวยงามของอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ( เขื่อนเขาแหลม) รอบๆ ริมอ่างเก็บน้ำ และยังมีธุรกิจ รีสอร์ทและแพพักเกิดขึ้นมากมาย และยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่
1. สะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานไม้ยาวที่สุดในประเทศไทย)
2. วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตมะ)
3. เจดีย์พุทธคยา
4. วัดเก่าจมน้ำ ( วัดหลวงพ่ออุตตมะเดิม )
5.6 การสาธารณสุข
ในเขตเทศบาล มีโรงพยาบาลของรัฐให้ บริการทางการแพทย์ต่อประชาชน จำนวน 1 แห่ง คือโรงพยาบาลสังขละบุรี ซึ่ง เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอสังขละบุรี มีศูนย์บริการ สาธารณสุข 1 แห่ง และหน่วยควบคุมโรคติดต่อแมลง 1 แห่ง
สำหรับทางด้านการเจ็บป่วยของประชาชน จากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคมาลาเรีย
แบ่งส่วนการบริหารราชการ ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. สำนักปลัดเทศบาล
- งานการเจ้าหน้าที่
- งานธุรการ
- งานทะเบียนราษฎร
- งานสวัสดิการสังคม
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- งานการศึกษา
- งานวิชาการและแผนงาน
- งานพัฒนาการท่องเที่ยว
- งานนิติการ
2. กองคลัง
- งานการเงินและบัญชี
- งานจัดเก็บและพัฒนารายได้
- งานธุรการ
- งานประปา
3. กองช่าง
- งานวิศวกรรม
- งานสาธารณูปโภค
- งานธุรการ
- งานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม