- รายละเอียด
-
หมวด: สถานที่ท่องเที่ยว
-
เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 18 ตุลาคม 2565 20:53
-
เขียนโดย Super User
-
ฮิต: 4639
วัดวังก์วิเวการาม
วัดวังก์วิเวการาม หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่าสามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือ แม่น้ำซองกาเรีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน ในปี พ.ศ. 2505 ได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2508 เมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลม หรือเขื่อวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน
ศาลาที่ประดิษฐานสังขารหลวงพ่ออุตตมะ สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบมอญและไทยประยุกต์
ปัจจุบันนี้หลวงพ่ออุตตมะได้ละสังขารไปแล้ว( 18 ตุลาคม 2549) แต่ศิษยานุศิษย์ยังเก็บสังขารของท่านไว้ให้ประชาชนได้กราบสักการะบูชา
วิหารพระพุทธรูปหินอ่อน ประดิษบานพระพุทธรูปหินอ่อนปางมารวิชัย หนัก 9 ตันหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อขาว หรือ หลวงพ่อหยกขาว
- รายละเอียด
-
หมวด: สถานที่ท่องเที่ยว
-
เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์, 14 ตุลาคม 2565 16:06
-
เขียนโดย Super User
-
ฮิต: 5159
เป็นสะพานไม้ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างให้ประชาชนที่อยู่ตัวอำ เภอสังขละบุรีกับหมู่บ้านชาวมอญได้ติดต่อกัน “สะพานไม้อุตตมานุสรณ์” หรือที่เรียกกันว่า “สะพานมอญ” เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศ มีความยาวประมาณ 445 เมตร
หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนไทย กะเหรี่ยง และมอญ ได้สัญจรไปมาหาสู่กันได้ สร้างข้ามลำน้ำซองกาเลีย เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนทั้งสามกลุ่ม โดยใช้แรงงานของชาวมอญร่วมใจกันสร้าง ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น1 ปี ในการสร้างสะพานแห่งนี้ เมื่อก่อสร้างเสร็จสะพานแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า “สะพานไม้แห่งศรัทธา” เนื่องจากวิธีการก่อสร้างและขั้นตอนการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นแรงงานคนทั้งสิ้น สะพานมอญกลายเป็นสัญลักษณ์ของสังขละบุรีไปแล้ว นักท่องเที่ยวจะนิยมมาเดินเยี่ยมชมสะพานเพื่อชมแสงสีทองของพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า หากเป็นช่วงฤดูหนาวก็จะได้ชมสายหมอกยามเช้า รวมถึงชมวิถีชีวิตของชาวไทยและมอญ ที่เดินข้ามไปมาหากันบนสะพานแห่งนี้
สะพานไม้ยามค่ำคืน